วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มังสามเกียด

ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้านันทบุเรง ได้รับการฝึกฝนทางด้านการรบตั้งแต่เล็กๆ เช่นเดียวกับพระนเรศวร แต่พระปรีชาสามารถค่อนข้างน้อยกว่า ทำให้พระราชบิดาทรงดูถูก ติเตียนอยู่เสมอ ในประวัติศาสตร์เป็นคนที่รบแพ้หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นศึกเมืองคัง พระองค์ไม่สามารถเอาชนะพวกไทยใหญ่ได้ หรือช่วงที่พระบิดายกทัพไปอังวะ พระนเรศวรเข้ามากวาดต้อนครัวไทยถึงหงสาวดีก็มิสามารถทานได้ จนเป็นเหตุให้สุรกรรมาถูกยิงตายที่แม่น้ำสะโตง เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ถูก พระนเรศวรฟันด้วยพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ ในสงครามยุทธหัตถี
ภาพ:Kns001.jpg

มังสามเกียด

         พระเจ้าบุเรงนองได้อภิเษกกับพระพี่นางของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และมีบุตรพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง และมังกยอชวาผู้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบ”ผู้ชนะสิบทิศ”ได้ ขึ้นครองราชย์แทนที่เมืองหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองสามารถปราบอังวะของพวกไทยใหญ่ พวกมอญ พวกเชียงใหม่ และ พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองได้มีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งที่หนึ่งด้วยกลอุบายใช้พระยาจักรีเป็น ไส้ศึก(บุเรงนองเป็นแม่ทัพของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เคยเข้ามาทำสงครามสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์ คราวสงครามขอช้างเผือก จึงรู้เส้นทางและวิธีรบของคนไทย)
        พระเจ้าบุเรงนองสามารถสร้างอาณาจักรพม่าคืนสู่อำนาจอีกครั้ง หนึ่ง อาณาจักรพม่าขยายตัวตั้งแต่ลุ่มน้ำมณีปุระถึงแม่น้ำโขง หลังจากบุเรงนองสวรรคตในปี พ.ศ.2124 พระเจ้านันทบุเรง โอรสพระเจ้า บุเรงนองครองราชย์ต่อ ทรงให้พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาจนเกิดสงครามยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อ พ.ศ.2142 หลังจากนั้นอาณาจักรมอญที่เมืองหงสาวดีเสื่อมโทรมลง พ.ศ.2158 พม่าโจมตีพวกมอญแล้วจึงย้ายเมืองหลวงจากอังวะมาตั้งที่เมืองหงสาวดี(หรือพะ โค) แล้วย้ายกลับไปอังวะอีก พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในพระชนม์ 65 พรรษา มังไชยสิงห์โอรส เป็นราชทายาทขึ้นครองราชย์พระนามพระเจ้านันทบุเรง มังกยอชวา เป็นมหาอุปราช เจ้าประเทศราชใหญ่น้อยมาเฝ้าตามประเพณี ทางกรุงศรีฯ พระนเรศวนอาสาสมเด็จพระราชบิดาไปแทนเพื่อฟังเหตุการณ์ ประเทศราชแสดงออกห่างอย่างกรุงศรีฯ และทรงคาดว่าจะมี่เรื่องทางหงสาวดี พอดีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังเป็นกบฏ พระเจ้านันทบุเรงให้ 1.พระมหาอุปราช 2.พระสักกะทัต (นัดจินหน่อง) เมืองตองอู และ 3.ทัพพระนเรศวรยกไปปราบเมืองคัง ทัพมหาอุปราชและเจ้าเมืองตองอูตีเมืองคังไม่ได้ ทัพกรุงศรีเข้าไปตีเมืองคังได้ เป็นเหตุให้อับอายและเกลียดชังพระนเรศวร แต่นั้นมาทั้งพระเจ้าหงสาวดีด้วย แต่ก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลตามพระราช พ.ศ.2126 ทางหงสาวดีมีเหตุการณ์พระเจ้านันทบุเรงเป็นอริกับพระเจ้าอังวะ (มังกยอชวา มหาอุปราช ซึ่งสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอังวะ ต่อมามหาอุปราชมีชายาใหม่ เกิดวิวาททุบตีพระธิดาถึงบาดเจ็บ ฟ้องไปอังวะว่าพระเจ้าหงสาวดีเข้ากับมหาอุปราช) ทางอังวะเกลี้ยกล่อมเจ้าฟ้าไทยใหญ่แข็งเมือง พระเจ้านันทบุเรงให้จัดทัพมี ทัพหงสาวดี ทัพเมืองตองอู ทัพเมืองเชียงใหม่ ทัพเมืองแปร ทัพเวียงจันทน์ ทัพกรุงศรีฯ ให้พระมหาอุปราชอยู่รักษาพระนครหงสาวดี กองทัพทั้ง 5 ขึ้นไปถึง ตีเมืองอังวะตามกำหนดนัด เว้นแต่ทัพพระนเรศวร พระเจ้านันทบุเรงเกิดระแวะว่าจะเป็นอุบาย จึงให้พระมหาอุปราชคิดกำจัดพระนเรศวรเสียเมื่อไปถึง พ.ศ.2126 พระนเรศวรออกจากกรุงศรีฯ พ.ศ.2127 ถึงเมืองแครงกินเวลาเดินทาง 2 เดือนเศษ พระมหาอุปราชวางอุบายกับมอญเมืองแครงกำจัดพระนเรศวร แต่งพระยาเมืองมอญมีพระยาเกียรติ พระยาราม เป็นข้าหลวงต้อนรับเสด็จ ได้ขยายความลับ มอญเมืองแครงที่เกลียดหงสาวดีรู้ข่าวไปเล่าให้พระมหาเถรคันฉ่อง พระนเรศวรไปเยี่ยมพระมหาเถรฯ ให้ระวังพระองค์เกลี้ยกล่อมพระยามอญเข้าสวามิภักดิ์ทูลความจริงให้ทรงทราบ พ.ศ.2127 ณ เมืองแครงพระนเรศวรประชุมและประกาศ "ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิเป็นมิตรกันดังแต่ก่อนสืบไป" หลั่งน้ำจากสุวรรณภิงคารลงเหนือแผ่นดิน เป็นสักขีพยาน พุ่งเข้าไปถึงชานเมืองหงสาวดี เข้าฤดูฝน จึงให้แยกไปรับพาครอบครัวไทยที่ถูกวาดไปเอากลับ ข้ามแม่น้ำสะโตง และมาตั้งมั่นอีกฝั่งหนึ่ง พอดีพระเจ้านันทบุเรงชนะเมืองอังวะยกพลกลับให้พระมหาอุปราชติดตามทัพกรุง ศรีฯ สุรกรรมมาเป็นทัพหน้า มาทันที่แม่น้ำสะโตงฝั่งตรงข้าม พระนเรศวรทรงพรแสงปืนยาวยิงถูกสุรกรรมมานิ่งอยู่กับคอช้าง ทัพหงสาวดีถอยกลับ ปรากฏนามต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับในพระแสงอัษฏาวุธ เป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับแผ่นดินสืบมา ไทยยกกลับทางเมืองมอญ เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์
        พ.ศ.2127 หัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยเมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย คาดการณ์ว่าแพ้หงสาวดี ก็แข็งเมือง พระนเรศวรยกทัพไปปราบจับเจ้าเมืองทั้งสองได้ให้กำจัดเสีย

สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ภาพ:--'pkpml.jpg
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุล บริพัตร ประสูติเมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 ปีมะเส็ง จุลศักราช 1243 ทรงเป็นพระโอสรในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี 

สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

        ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลศรี ทรงประสูติในพระราชวัง ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 33 ทรงมี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัติกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ เป็นพระเชษฐภคินีร่วมพระชนนีเพียงพระองค์เดียว

การศึกษา

        เมื่อทรงเจริฐพระชันษาได้ 8 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาตามแบบอย่างของพระราชกุมารและพรราชกุมารีในสมัยนั้น โดยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และวิชาภาษาอังกฤษกับ นายโรเบิร์ด มอแรนด์ (ปริญญาเอ็ม.เอ.ออกฟอร์ด) ที่โรงเรียนพระราชกุมารในพระบรมมหาราชวังร่วมกับบรรดาพระราชกุมาร พระราชกุมารี และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ
        จนเมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา จึงได้มีการพระราชพิธีโสกันต์ ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งถือว่าได้ผ่านพ้นวัยของพระราชกุมารแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เสด็จไปทรงศึกษาต่อในยุโรป ในตอนแรกได้ทรงเข้าร่วมสถานที่ประทับ และทรงรับการศึกษาร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ที่ตำบลแอสคอท มณฑลเซอร์รี่ย์ ประเทศอังกฤษ ในสำนักของนายแบร์ซิล ทอมสัน และต่อมาในสำนักของพันตรี ซี วี ฮูย์ม ที่ตำบลแคมเบอร์ลี มณฑลเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ ตามลำดับ ทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นที่จะต้องทรงศึกษาพร้อมกับธรรมเนียมและกีฬาของชาว ยุโรปนานถึง 2 ปี รวมทั้งพระองค์ได้ทดลองศึกษาภาษาเยอรมันดู ปรากฏว่าทรงภาษาได้ดีแม้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงศึกษาต่อในวิชาการทหารที่ประเทศเยอรมนี
        โดยที่พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ การจะเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยเยอรมัน ซึ่งถือได้ว่ามีการเรียนที่เข้มงวดและฝึกหัดภาคสนามหนักมากที่สุดของยุโรป เช่นนี้ จึงทำให้ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระจักรพรรดิไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 (Emperor Kaiser Wilhelm 2) ก่อน และต้องได้รับหนังสือยินยอมจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก ด้วย หลังจากที่ได้รับคำรับรองดังที่กล่าวแล้ว พระองค์จึงทรงย้ายจากประเทศอังกฤษ ไปเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้นประถมเยอรมัน ที่เมืองปอร์ตสดัม (The Cadet School, Potsdam) เมื่อโรงเรียนจัดให้สอบและปิดภาคแล้ว บรรดาครู อาจารย์ และผู้บังคับการโรงเรียนจึงเห็นพ้องกันว่าทรงเรียนได้รวดเร็ว มีความจำเป็นเลิศเกินกว่านักเรียนนายร้อยชาวเยอรมันมาก จึงได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเรียนชั้นอุนเตอร์ เซกุนเด้ (Unter Sekunde) โรงเรียนนายร้อยมัธยมคาเดต (Chief Cadet School) ที่เมืองโกรส ลิสเตอร์เฟลเด้ (Gross Lichterfelde) กรุงเบอร์ลินแทน
        ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า ทำให้พระองค์เข้าร่วมในกิจกรรมตามหลักสูตรและเรียนทันพระสหายที่เรียนมาตาม ลำดับชั้นได้อย่างไม่บกพร่อง โดยสอบไล่ได้เป็น ปอตเอเปแฟนริช นักเรียนว่าที่นายร้อย และเข้าศึกษาในชั้นเซเลคต้า (Selekta) และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็ทรงจบการศึกษาสอบเป็นนายทหารด้วยคะแนนดีมาก ทรงได้พระราชทานยศนายร้อยตรี ในปี พ.ศ. 2444 ในโอกาสนี้ กองทัพบกไทยได้ขอพระราชทานยศร้อยตรี กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ถวายแด่พระองค์ด้วย
        หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกเยอรมนี และเพื่อให้พระองค์มีโอกาสศึกษาประเพณีต่าง ๆ ในราชสำนักปรัสเซียอย่างใกล้ชิด สมเด็จพระจักรพรรดิไกเซอร์ ฯ จึงทรงมีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ร.ศ. 118 ให้บรรจุพระองค์เข้าประจำกองร้อยที่ 11 กรมทหารรักษาพระองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระนางเจ้าเอากุสต้า พระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงรับราชการอยู่นี้ ทรงเห็นว่าการศึกษาที่ผ่านมายังไม่พอกับที่จะทรง นำมาใช้ในประเทศ จึงทรงสมัครเข้าเรียนในวิทยาลัยการสงคราม (Academic of War)
        ในช่วงที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยการสงครามนั้น พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนยศเป็นนายร้อยโท เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 และจบหลักสูตรในเดือนสิงหาคม ด้วยระดับคะแนนยอดเยี่ยม ทรงได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรจากวิทยาลัยการสงคราม ครีกล์ ซูเล่ (Kriegs Schule) แห่งเมืองคัสเซล (Kassel) และยังได้รับประกาศนียบัตรชมเชยเป็นพิเศษจากสมเด็จพระจักรพรรดิไกเซอร์ ฯ เป็นพิเศษอีกด้วย
        เดือนตุลาคม พ.ศ. 2444 สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ฯ ทรงลาพักและเสด็จกลับประเทศไทย จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2445 พระองค์จึงเสด็จกลับมาทรงศึกษาต่อประเทศเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง
        ในการกลับมาทรงศึกษาในครั้งที่ 2 นี้ ก็เพื่อเร่งรัดให้ทรงเรียนวิชาการที่สำคัญ ๆ ให้เสร็จภายใน 1 ปี ทรงเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้
  1. โรงเรียนแม่นปืน เมืองสะบันเดา หลักสูตรสำหรับนายทหารชั้นนายพัน
  2. โรงเรียนปืนใหญ่ เมืองยีเตอร์บอร์ด หลักสูตรสำหรับนายทหารชั้นนายพล
  3. วิทยาลัยการสงคราม หลักสูตรการยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ตลอดจนร่วมสมทบการฝึกหัดนำทัพในสนามรบ
  4. เข้าร่วมฟังการบรรยายที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน 1 ภาคการศึกษา เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การปกครอง ธรรมเนียมระหว่างประเทศ และวิธีปกครองอาณานิคม
        ในระหว่างนั้นยังทรงเข้ารับราชการในกรมทหารรักษาพระองค์ที่ 4 และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2446 ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอก เมื่อรวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศแล้วนับว่านานมากถึง 9 ปี ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ ที่จะปรับปรุงกองทัพบก ซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ฯ จึงทรงลาออกจากตำแหน่งนายทหารกองทัพบกเยอรมนี และเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิ ไกเซอร์ ฯ ทูลลากลับประเทศไทย ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ขณะทรงประทับอยู่ที่ประเทศชวา

การทรงงาน

        พระองค์ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบกได้ไม่ทันครบปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงษ์วรเดช กราบบังคมลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เนื่องจากทรงพระประชวร
        ด้วยพระราชดำริของพระราชบิดาที่ว่า “... เห็นว่าส่วนการปกครองกรมยังหาเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ จะให้แต่ผู้รู้วิชาการเดินเรือจัดการปกครองทั่วไป ก็จะยังไม่เป็นการเรียบร้อยตลอดไปได้ จึงเห็นควรว่าจะให้มีผู้บัญชาการจัดการปกครองกรมให้ลงระเบียบเรียบร้อย ราชการทหารเรือจึงจะดำเนินไปได้ เห็นว่าชายบริพัตรมีสติปัญญาแลความเพียรมั่นคงอยู่จึงตั้งให้เป็นผู้ บัญชาการกรมทหารเรือ …..” พระองค์ทรงอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาเกือบ 7 ปี ซึ่งพระองค์ได้ทรงบุกเบิกและวางรากฐานแห่งความเจริญด้านต่าง ๆ ให้ ทร. ในปัจจุบัน ดังนี้
        พระราชกรณียกิจในขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2453)
  1. การจัดระเบียบราชการใน ทร. ให้รัดกุม โดยจัดแบ่งส่วนราชการเป็น กรมบัญชาการกลาง มีผู้บัญชาการกรมทหารเรือเป็นประธาน มีหน้าที่รับผิดชอบงานราชการซึ่งเกี่ยวข้องกับกรมทหารเรือทั่วไป
  2. การสมัครสมานสามัคคีระหว่างทหารเรือรุ่นเก่าและทหารเรือรุ่นใหม่ เพื่อประสานรอยร้าวที่ได้รับการศึกษาแบบเก่า และแบบสมัยใหม่
  3. การจัดทำข้อบังคับสำหรับทหารเรือ ทรงจัดทำข้อบังคับทหารเรือ (ข.ท.ร.) ข้อบังคับหน้าที่ราชการเรือ (ข.น.ร.) และข้อบังคับหน้าที่ราชการกลจักร (ข.น.จ.) ขึ้นใช้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติราชการสืบมาจนถึงทุกวันนี้
  4. จัดระเบียบเกี่ยวกับการเงิน โดยมีการแต่งตั้งกรรมการตรวจเงินและควบคุมเงิน รวมทั้งให้มีการกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการทหารเรือ ทั้งในและต่างประเทศขึ้นไว้เป็นหลักฐานด้วย
  5. เปลี่ยนยศข้าราชการกรมทหารเรือ แผนกผู้ช่วยรบ เนื่องจากประกาศลำดับยศข้าราชการกรมทหารเรือแผนกผู้ช่วยรบ เมื่อ พ.ศ. 2447 มีความสับสน โดยใช้ตำแหน่งเป็นยศ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด จึงได้เปลี่ยนใช้แบบเดียวกับราชการแผนกรบ
  6. กำหนดระยะเวลาและวิธีรับคนเข้าราชการในกรมทหารเรือ เนื่องจากมีผู้หนีราชการเป็นจำนวนมาก เมื่อถูกเกณฑ์เข้ารับราชการ
  7. การจัดตั้งโรงเรียนนายเรือ พระองค์ทรงริเริ่มร่วมกับเสด็จในกรมหลวงชุมพร รองผู้บัญชาการทหารเรือและพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
  8. สร้างอู่ต่อเรือ อู่ต่อเรือนี้ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นกรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน
  9. วางแบบแผนการยิงสลุต โดยร่างข้อบังคับว่าด้วยการยิงสลุต พ.ศ. 2449
  10. กำหนดเครื่องแต่งตัวทหารเรือ ได้ร่างพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารเรือ ร.ศ. 124 และได้ประกาศใช้ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 ตามที่ พลเรือตรี กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงเสนอ
  11. จัดให้มีพระธรรมนูญศาลทหารเรือและกรมพระธรรมนูญทหารเรือ เพื่อดูแลงานด้านเกี่ยวกับกฎหมายและคำสั่งต่าง ๆ
  12. ปรับปรุงการสหโภชน์และจัดตั้งโรงเรียนสูทกรรม เพื่อให้ทหารรู้จักการปรุงอาหาร การจัดโต๊ะและมารยาทในการเสริฟทั้งอาหารไทยและฝรั่ง
  13. กองดุริยางค์ทหารเรือ ทรงโปรดการดนตรีไทยและดนตรีสากล ได้ทรงสนพระทัยกองแตรวงทหารเรือ ตั้งแต่แรกเริ่ม ทรงควบคุมการฝึกซ้อม ทรงพระนิพนธ์เพลงให้กองแตรวงฝึกจนมีความสามารถ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นกองดุริยางค์ทหารเรือในปัจจุบัน
  14. จัดทำโครงสร้างกำลังทหารเรือ ทรงจัดทำโครงสร้างกำลังพลทางเรือ ร่วม กับพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ ฯ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือและโครงการนี้ได้บรรลุผลสำเร็จ ในสมัยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
  15. สนับสนุนความก้าวหน้าและเพิ่มพูนรายได้ของผู้ใต้บังคับบัญชา เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนและสอบเพื่อแสดงความรู้ของตนเอง
        พระราชกรณียกิจในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463) พระองค์ทรงอาศัยหลักการเดิมที่ทรงวางไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระกรณียกิจที่สำคัญในตำแหน่งนี้พอประมาณได้พอสังเขป ดังนี้
  1. ทำการสำรวจและจัดทำแผนที่น่านน้ำสยามขึ้นใหม่ โดยทรงมอบให้กองแผนที่ทางทะเลเป็นผู้สำรวจ และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กองอุทกศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2458 และเป็นกรมอุทกศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2464
  2. ตั้งคลังแสงทหารเรือ ทรงตั้งคลังแสงทหารเรือขึ้นที่บางนา จ . สมุทรปราการ ต่อมาเรียกว่า กรมสรรพาวุธทหารเรือ
  3. ให้มีกฎข้อบังคับการปฏิบัติในเวลาสงครามไว้ใช้ในกระทรวงทหารเรือ ขณะที่กำลังเกิดสงครามในยุโรป (ก.ย. – ต.ค. 2457) ทรงให้กรรมการร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ร่างกฎว่าด้วยการใช้ธรรมนิยมกฎหมายนานาประเทศในเวลาเกิดสงครามขึ้น
  4. ทรงเสริมสร้างแสนยานุภาพของกองทัพเรือ นอกจากการสั่งสร้างเรือรบจากต่างประเทศ เข้าประจำการในกองทัพเรือเป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้ทรงร่วมกับเสด็จในกรมหลวงชุมพร ดำเนินการฝึก – ศึกษาของทหารเรือไทยทุกระดับให้มีสมรรถภาพ สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทันความเจริญก้าวหน้าวิทยาการทหารเรือและ อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ รวมทั้งการส่งนายทหารเรือไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
  5. พระกรณียกิจในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อประเทศไทยประกาศสงครามร่วมด้วยนั้น ทรงบัญชาการให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือ (กรมชุมพลทหารเรือ) ทำการยึดเรือ และจับกุมเชลยศึกเยอรมนีจนเป็นที่เรียบร้อย
  6. ปรับปรุงการแพทย์ทหารเรือให้เจริญ ได้สร้างตึก 6 หลัง ที่ปากคลองมอญ ด้านเหนือตรงข้ามท่าราชวรดิฐ (ที่ตั้งโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ ในปัจจุบัน) มีการนำยารักษาโรคชนิดใหม่ ๆ เข้ามาใช้
  7. สนับสนุนการก่อตั้งราชนาวิกสภา ทรงเห็นชอบให้เริ่มตั้งราชนาวิกสภา แต่งตั้งวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 และเป็นสถานที่พบปะสนทนา โดยมี พลเรือตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นผู้อำนวยการ
  8. การจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ทรงมีดำริให้นำเรือเยอรมันที่กองทัพเรือทำการยึดในระหว่างสงครามโลกมาใช้ให้ เป็นประโยชน์ในการรับ - ส่งสินค้า ในรูปของบริษัท ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรียกชื่อว่า บริษัทพาณิชย์นาวีสยามซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบริษัทเดินเรือไทย ในเวลาต่อมา
  9. กำหนดรูปแบบริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีปรับปรุงเห่เรือ และสร้างเรือพระราชพิธีขึ้นใหม่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ขอพระราชทานวางริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีซึ่งทรงปรับปรุงใหม่เป็น 5 กระบวน ซึ่งยึดถือปฏิบัติมาถึงปัจจุบัน

พระโอรส-ธิดา

        เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงประทับที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นวังที่มีความใหญ่โตโอ่อ่าที่สุด กอรปกับทรงมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย จึงได้รับการกล่าวขานอีกฉายาหนึ่งจากคนทั่วไปว่า " จอมพลบางขุนพรหม " หรือ " เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม " ทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร [1] ทรงเษกสมรสกับ หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ไชยันต์) (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย) มีพระโอรสพระธิดา 8 พระองค์ คือ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (5 ธันวาคม 2447 – 15 กันยายน 2502) เษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) พระธิดาใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
- หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธ์ บริพัตร
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง (4 มกราคม 2449 – 6 กรกฎาคม 2533) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล
- นายฤทธิ์ดำรง ดิศกุล สมรสกับ นางแก้วตา (หังสสูต) ดิศกุล
- เด็กชายอาชวฤทธิ์ ดิศกุล
- เด็กชายอวิรุทธิ์ ดิศกุล
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวงษ์วิจิตร (16 มีนาคม – 20 กุมภาพันธ์ 2546)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย (21 กันยายน – 23 กุมภาพันธ์ 2517) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงพิลาศลักษณ์ (กิติยากร) บุณยะปานะ สมรสกับ นายบัณฑิต บุณยะปานะ
- นายพิทูร บุณยะปานะ สมรสกับ นางปองสุข (บุณยะประสิทธิ์) บุณยะปานะ
- นางศิถี (บุณยะปานะ) ศรีวิกรม์ สมรสกับ นายชาญ ศรีวิกรม์
- นางสิรี (บุณยะปานะ) อุดมฤทธิรุจ สมรสกับ นายกำพล อุดมฤทธิรุจ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน (24 ธันวาคม 2452 – 2544) เษกสมรสกับ พลตรี หม่อม เจ้าฉัตรมงคล โสณกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
- หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล สมรสกับ นางอมรา เหรียญสุวรรณ (หย่า)
- พันโท หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล สมรสกับ คุณหญิงสนทนา (หงสกุล) โสณกุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงธีรเชษฐ โสณกุล
- หม่อมหลวงรัตนมงคล โสณกุล
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุมาลยมงคล (โสณกุล) โชติกเสถียร สมรสกับ นายจุลเสถียร โชติกเสถียร
- นายจิรมงคล โชติกเสถียร
- นางศิริมงคล (โชติกเสถียร) จีนะวิจารณะ สมรสกับ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
- นายศุภมงคล โชติกเสถียร
- หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล สมรสกับ นางรัชนี คชเสนี (หย่า)
- หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล สมรสกับ คุณหญิงบูลย์วิภา (ทองไข่มุกข์) โสณกุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงอรมงคล โสณกุล
- หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี (24 กันยายน 2455 – 30 ธันวาคม 2520) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น (สวัสดิวัตน์) กิติยากร สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร - หม่อมหลวงชาครีย์ กิติยากร
- หม่อมหลวงทยา กิติยากร
- หม่อมหลวงรมย์ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร (วุฒิชัย) สวัสดิวัตน์
- หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์
- หม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง(สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังไม่มีพระนาม)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรียชาติสุขุมพันธุ์ (สิ้นพระชนม์ตอนพระชันษาได้ 2 ขวบ) (4 มิถุนายน 2463 - 29 พฤษภาคม 2465)
        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงเษกสมรสกับ หม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) มีพระโอรสพระธิดา 2 พระองค์ คือ - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอินทุรัตนา (2 กุมภาพันธ์ 2465 - ) เษกสมรสกับ นายสมหวัง สารสาส (หย่า)
- นายธรณินทร์ สารสาส สมรสกับ นางสุรีรัตน์ สีดาวรพงษ์ (หย่า)
- นางสินนภา (สารสาส) ตาราไต สมรสกับ นายอนันต์ ตาราไต (หย่า)
- นายพญาณินทร์ สารสาส
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (15 พฤศจิกายน 2466 - 2546) เษกสมรสกับหม่อมดุษฎี (ณ ถลาง)บริพัตร ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมรสกับ นางนุชวดี (บำรุงตระกูล) บริพัตร ณ อยุธยา (หย่า)ปัจจุบันสมรสกับ นางสาวิตรี (ภมรบุตร) บริพัตร ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร (จากการสมรส กับ นางนุชวดี บำรุงตระกูล)
- หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร
- พันตรี หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร สมรสกับ นางพัฒนาพร (นิยมศิริ) บริพัตร ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงวรพินิต บริพัตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ปฐมจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434
ภารดรมหาจักรีบรมราชวงศ์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2434
มหาสุราภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2436
นพรัตนราชวราภรณ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2437
มหาวราภรณ์ ช้างเผือก ชั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2444
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2446
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ม.ป.ร.2 เมื่อปี พ.ศ. 2446
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 จ.ป.ร.1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ว.ป.ร.1
อัลเบร็คต์ ประเทศแซ็กซันนี เมื่อปี พ.ศ. 2440
เซ็นโอลัฟ ประเทศนอรเวย์ ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2440
เฮาส์ออร์เดน แดร์ทรอยเอ ประเทศบาเดน ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2446
อินทรีย์แดง ประเทศปรัสเซีย ชั้น 1 เอก เมื่อปี พ.ศ. 2448
เซนต์ มอรส ประเทศอิตาลี ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2448
ดันแนบร็อค ประเทศเดนมาร์ก ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2450
เลย็อง คอร์เนอร์ ประเทศฝรั่งเศส ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2450
ปอโลว์เนีย ประเทศญี่ปุ่น ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2451
ไฮน์ริค แดร์ เลอเว ประเทศปรันสวิก ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2452
เลโอโปลด์ ประเทศออสเตรียฮังการี ชั้น 1 เมื่อปี พ.ศ. 2454
มหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก ชั้นสูงสุด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
เหรียญจักรมาลา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2458
รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
มหาวชิระมงกุฎ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2463
เหรียญบรมราชาภิเศกทอง รัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468
เหรียญรัตนาภรณชั้นที่ 1 รัชกาลที่ 7 ป.ป.ร. เมื่อวันที่ 1 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469

พระนิพนธ์

เพลงฝรั่ง

เพลงวอลทซ์ปลื้มจิตต์
เพลงวอลทซ์ประชุมพล
เพลงสุดเสนาะ
เพลงมณฑาทอง
เพลงวอลทซ์เมฆลา
เพลงมหาฤกษ์
เพลงสรรเสริญเสือป่า
เพลงวอลทซ์โนรี
เพลงสาครลั่น
เพลงโศรก
เพลงนางครวญ 3 ชั้น

เพลงไทยแท้

เพลงแขกมอญบางขุนพรหม
เพลงสุดสงวน 2 ชั้น
เพลงเขมรพวง 3 ชั้น
เพลงเขมรชมจันทร์
เพลงสารถี 3 ชั้น
เพลงสบัดสบิ้ง
เพลงทยอยนอก
เพลงทยอยเขมร
เพลงทยอยในเถา
เพลงแขกเห่
เพลงถอนสมอ
เพลงแขกมัสซีรี
เพลงครอบจักรวาฬเถา
เพลงบุหลันชกมวย 3 ชั้น
เพลงเขมรใหญ่เถา
เพลงพม่าเถา
เพลงแขกสี่เกลอเถา
เพลงแขกสายเถา
เพลงบาทสกุณี
เพลงขับไม้
เพลงเขมรโพธิสัตว์เถา

เพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นทางและทำนองสำหรับใช้บรรเลงพิณพาทย์โดยตรง

เพลงแขกสายเถา
เพลงอาถรรพ์เถา
เพลงแขกสาหร่าย 3 ชั้น
เพลงสมิงทองมอญเถา
เพลงอาเฮีย
เพลงสารถี 3 ชั้น

เพลงไทยเดิม ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จจากกรุงเทพฯ แล้วไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย

เพลงต้นแขกไทร 2 ชั้น
เพลงครวญหาเถา
เพลงกำสรวญสุรางค์
เพลงอักษรสำอางค์และเพลงสุรางค์จำเรียง
เพลงจีนลั่นถัน
เพลงจีนเข้าห้อง
เพลงน้ำลอดใต้ทรายเถา
เพลงขยะแขยง 3 ชั้น
เพลงจีนเก็บบุปผาเถา
เพลงดอกไม้ร่วง
เพลงเทวาประสิทธิ์เถา
เพลงวิลันดาโอด
เพลงจิ้งจกทองเถา
เพลงตนาวเถา
เพลงพวงร้อยเถา
เพลงถอนสมอเถา
เพลงพระจันทรครึ่งซีกเถา

สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์)

สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์)

        ทรงเป็นพระราชลัดดาของขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งในระหว่างนี้ พระมหาธรรมราชาที่ 3 แห่งกรุงสุโขทัยซึ่ง เป็นประเทศ เสด็จพระสวรรคตโดยมิได้ตั้งรัชทายาท ทำให้พระราชโอรสคือพระยาบาลเมืองกับพระยารามคำแหงชิงราชสมบัติกัน สมเด็จพระนครินทราธิราช จึงเสด็จไปไกล่เกลี่ย โปรดให้พระยาบาลเมือง ครองกรุงสุโขทัยเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)และให้พระยารามคำแหง(รามราช)ไปครองเมืองกำแพงเพชร และขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา พระราชโอรสองค์ที่สามของพระองค์ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใกล้ชิดสนิทสนมในฐานะที่พระมหากษัตริย์เป็น เครือญาติกัน รวม 15 ปี
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
        ตามประวัติศาสตร์กษัตริย์เชื้อสายสุพรรณบุรี คือสมเด็จพระนครินทราธิราชหรือเจ้านครอินทร์ ทรงเป็นผู้ที่สามารถควบคุม กรุงศรีอยุธยา ไว้ในอำนาจอย่างเด็ดขาด ทำให้เมืองสุพรรณถูกลดความสำคัญลง เพราะกษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณบุรี ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางวรรณกรรม ที่เห็นชัดคือนิทานพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีกำเนิดในดินแดนแคว้นสุพรรณภูมิ ก็แพร่หลายเข้าไปในกรุงศรีอยุธยาด้วย กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระศรีนครินทราธิราช มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามาก ยุคนี้เองที่ได้ชื่อว่า อาณาจักรแห่งสยาม อย่างแท้จริง

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์1.JPG

พระประสูติกาล

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์2.JPG
        กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น. ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เป็นพระลูกยาเธอองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ( วร บุญนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๕
        พระองค์ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา ร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ( สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ) และพระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ ( ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส - ต้นราชสกุล สุริยง )
         สมรสพระราชทาน รัชกาลที่ ๕ ทรงสู่ขอพระราชธิดาองค์โต - หม่องเจ้าหญิงทิพยสัมพันธุ์ ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงค์ ในอภิเษกสมรสกับเสด็จในกรมฯ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๓ พระองค์ทรงมีโอรส และพระธิดา ๓ พระองค์คือ
        ๑. มจ. เกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพิตักษัยในวันเดียวกัน
        ๒. (พล.ท. , พล.ร.ท., พล.อ.ท) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา
        ๓. พล.อ.ท. มจ.รังษิยากร อาภากร

บรรดาหม่อมของเสด็จในกรม

        ๑.หม่อมกิม
        ๒. หม่อมแฉล้ม
        ๓. หม่อมเมี้ยน
        ๔. หม่อมช้อย
        ๕. หม่อมแจ่ม ( น้องร่วมมารดาเดียวกับหม่อมเมี้ยน)

การศึกษาเมื่อทรงพระเยาว์

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์3.jpg
        ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราช วัง สมัยนั้นเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มจัดการ ศึกษาในรูป โรงเรียน ทรงเลือกเฟ้นหาครูดีมาถวายพระอักษรแด่พระเจ้าลูกยาเธอทั้งหลาย เช่น พระศรีสุนทรโวหาร, หม่อมเจ้าประภากร ( ต้นราชสกุลมาลากุล ), พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( หนู อิสรางกูร ) พระองค์เจ้าอาภากร ศึกษาวิชาภาษาไทยกับ พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( หนู อิสรางกูร ) และศึกษาวิชาภาษาอังกฤษกับ มิสเตอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ ซึ่งเป็นหลานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล ทรงเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนหลวง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบจนถึง พิธีโสกันต์ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ( ร.ศ. ๑๑๑ ) พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
คำสอนของพระองค์เตี่ย
"ตอกตะปูลงตรงนะเจ้าเด็ก
เสียงเป๊กตีตรง ลงที่หัว
เมื่อเจ้าตีเหล็กนะเจ้าเด็ก
เจ้าอย่ากลัว ตีเมื่อตัวเหล็กยังแดง
เป็นแสงไฟ เมื่องานมีที่ต้องทำ นะเจ้าเด็ก
เป็นข้อเอกทำจริง ไม่ทิ้งไถล
ที่เขาขึ้นยอดได้ สะบายใจ
ก็เพราะได้ปีนเดิน ขึ้นเนินมา
ถ้าเด็กใดยืนแช อยู่แต่ล่าง
แหงนคว้างมองแล สู่เวหา
จะขึ้นได้อย่างไร นะลูกยา
ทำแต่ท่าแต่ไม่ลอง ทำนองปีน
ถึงหกล้มหกลุก นะลูกแก้ว
อย่างทำแซ่วเสียใจ ไม่ถวิล
ลองเถิดลองอีกนะ อย่าราคิน
ที่สุดสิ้นเจ้าคงสม อารมณ์เอย."

การออกจากราชการ

        พระองค์ได้ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๕๔ เนื่องจากกรณีที่ถูกคิดว่า พระองค์จะคิดล้มราชบังลังค์ ร. ๖ ซึ่งพระองค์ก็ยิงยอมเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ตั้งแต่นั้นพระองค์ก็ศึกษาและเขียนตำรายา จึงได้สมญาว่า "หมอพร" พระองค์ได้เสด็จไปรักษาคนไข้ทั่วไป โดยมีตำรวจสะกดรอยตามไปดูด้วย แต่พระองค์ก็หายตัวทุกครั้งเมื่อรักษาเสร็จ
        แม้การออกจากราชการมิได้ทำให้อำนาจของพระองค์หมดไป เมื่อครั้งพระองค์เสด็จไปตรวจตราปืนที่ป้อมพระจุลฯ พบว่า มีจุดที่ต้องแก้ไขทั้ง ๖กระบอก จึงรับสั่งให้คนดูแลเอากระดาษมา แล้วเขียนบันทึกถึงกรมพระนครสวรรค์ เสนาบดีทหารเรือ กรมพระนครสวรรค์ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่าเคร่งครัด และทำบันทึกการแก้ไขไว้เพื่อป้องกันการเข้าถึงพระเนตรพระกรรณ์ของ ในหลวง ร. ๖ แล้วเกิดความเดือดร้อนกันเสด็จเตี่ยในภายหลัง
ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์4.JPG

กลับเข้ารับราชการ

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์5.JPG
        ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ แล้วพระราชทานยศให้เป็นพลเรือโทตามลำดับ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ได้จับเรือเชลยได้ ๖ ลำ หลังจากนั้นก็ทรงทูลขอที่ดินสร้างฐานทัพเรือสัตหีบ และทรงซื้อเรือรบหลวงพระร่วง ซึ่งพระองค์เดินทางไปรับเรือด้วยพระองค์เอง และขับเรือกลับมายังแผ่นดินสยาม นับเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถบังคับเรือได้ไกล
ภาพ:อาทิตย์ดับที่หาดทรายรี.JPG
อาทิตย์ดับที่หาดทรายรี

ภาพ:กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์6.JPG
        เสด็จในกรมฯ ทรงรับตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงทหารเรือไม่กี่วัน ได้กราบบังคมลาราชการออกไป เพราะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวรโรคภายใน ทางกระทรวงทหารเรือได้ถวายเรือหลวงเจนทะเลเป็นพาหนะ พร้อมนายแพทย์ประจำพระองค์ตามเสด็จไปที่ด้านใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์จองไว้เพื่อทำสวน ขณะประทับอยู่ก็เป็นไข้หวัดใหญ่เนื่องจากตากฝน ประชวรอยู่ได้ ๓ วันก็ชิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖

ภาพ:ตราประจำพระองค์.JPG
ตราประจำพระองค์ เข้าใจว่า ทรงนำมาจากตราใน
"ธงประจำนายเสือป่าชั้นสัญญาบัตร"
ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานเมื่อทรงดำรงพระยศเป็น นายหมู่เอก ในกองเสือป่า
เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๓๐ ( พ.ศ. ๒๔๕๔ )

กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์

กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์

        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ต้นสกุล จักรพันธุ์ ประสูติแต่ หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ศิริวงศ์) พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ (ราชสกุลในรัชกาลที่ ๓)กับ หม่อมพลบ ทรงได้รับการเฉลิมพระยศเป็น กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เมื่อ พ.ศ. 2463 พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์ มีพระเชษฐาและพระพี่นางตามลำดับดังนี้
๑.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรษฐวงศ์วราวัตร กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์
๒.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ
๓.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักขณา
๔.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์
๕.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล
        บรรดาพระโอรสธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ ที่ประสูติด้วยหม่อมราชวงศ์หญิงสว่างนี้ เมื่อแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๕ หมดทุกพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้พระโอรสธิดาทั้งที่ประสูติแล้วจะมีต่อไปมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าด้วย
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์ ทรงสมรส หม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบ ตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ สืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรี แต่เนื่องจากขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา และกำลังศึกษาอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์
        ทางรัฐสภาได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ได้ทรงปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าพระองค์ทรงพระชราภาพมากแล้ว และได้ข้อสรุปว่า ให้มีพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นคณะบุคคล เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จำนวน 3 คน จนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ
        ซึ่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นบุคคลซึ่งทำหน้าที่แทนพระมหากษัตริย์ ในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินราบรื่นต่อไปคือ
  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  3. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ทรงปลงพระชนม์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เนื่องจากทรงคับแค้นพระทัยที่ถูกอำนาจการเมืองในขณะนั้น (พระยาพหลพลพยุหเสนา) บีบคั้นให้กดดัน และฟ้องร้องดำเนินคดีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสละราชสมบัติไปก่อนหน้านั้น
        พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ ประทับอยู่ที่วังบริเวณตำบลสนามกระบือ ใกล้คลองรอบกรุง เป็นวังหนึ่งในจำนวน 6 วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่สร้างให้กับพระราชนัดดา 6 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถนนหลานหลวง ซึ่งการสร้างวังทั้ง 6วัง โดยวังทั้ง 6 สร้าง ให้หันหน้าวังออกคนละด้าน ด้านละ 3วัง หลังวังติดกันเป็นคู่ๆ ดังนี้
  • วังกรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ คู่กับ วังกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรงค์
  • วังหม่อมเจ้าดนัยวรนุช คู่กับ วังหม่อมเจ้าดรุณอัยวัฒน์
  • วังหม่อมเจ้าปิยบุตร คู่กับ วังหม่อมเจ้าทศสิริวงศ์
ภาพ:กรมหมื่น4.JPG
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ (คนกลาง)
ภาพ:กรมหมื่น3.jpg
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ แถวหน้าคนที่ 2 จากซ้าย