วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มังสามเกียด

ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้านันทบุเรง ได้รับการฝึกฝนทางด้านการรบตั้งแต่เล็กๆ เช่นเดียวกับพระนเรศวร แต่พระปรีชาสามารถค่อนข้างน้อยกว่า ทำให้พระราชบิดาทรงดูถูก ติเตียนอยู่เสมอ ในประวัติศาสตร์เป็นคนที่รบแพ้หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นศึกเมืองคัง พระองค์ไม่สามารถเอาชนะพวกไทยใหญ่ได้ หรือช่วงที่พระบิดายกทัพไปอังวะ พระนเรศวรเข้ามากวาดต้อนครัวไทยถึงหงสาวดีก็มิสามารถทานได้ จนเป็นเหตุให้สุรกรรมาถูกยิงตายที่แม่น้ำสะโตง เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ถูก พระนเรศวรฟันด้วยพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ ในสงครามยุทธหัตถี
ภาพ:Kns001.jpg

มังสามเกียด

         พระเจ้าบุเรงนองได้อภิเษกกับพระพี่นางของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และมีบุตรพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง และมังกยอชวาผู้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบ”ผู้ชนะสิบทิศ”ได้ ขึ้นครองราชย์แทนที่เมืองหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองสามารถปราบอังวะของพวกไทยใหญ่ พวกมอญ พวกเชียงใหม่ และ พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองได้มีชัยชนะต่อกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งที่หนึ่งด้วยกลอุบายใช้พระยาจักรีเป็น ไส้ศึก(บุเรงนองเป็นแม่ทัพของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เคยเข้ามาทำสงครามสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์ คราวสงครามขอช้างเผือก จึงรู้เส้นทางและวิธีรบของคนไทย)
        พระเจ้าบุเรงนองสามารถสร้างอาณาจักรพม่าคืนสู่อำนาจอีกครั้ง หนึ่ง อาณาจักรพม่าขยายตัวตั้งแต่ลุ่มน้ำมณีปุระถึงแม่น้ำโขง หลังจากบุเรงนองสวรรคตในปี พ.ศ.2124 พระเจ้านันทบุเรง โอรสพระเจ้า บุเรงนองครองราชย์ต่อ ทรงให้พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาจนเกิดสงครามยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อ พ.ศ.2142 หลังจากนั้นอาณาจักรมอญที่เมืองหงสาวดีเสื่อมโทรมลง พ.ศ.2158 พม่าโจมตีพวกมอญแล้วจึงย้ายเมืองหลวงจากอังวะมาตั้งที่เมืองหงสาวดี(หรือพะ โค) แล้วย้ายกลับไปอังวะอีก พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในพระชนม์ 65 พรรษา มังไชยสิงห์โอรส เป็นราชทายาทขึ้นครองราชย์พระนามพระเจ้านันทบุเรง มังกยอชวา เป็นมหาอุปราช เจ้าประเทศราชใหญ่น้อยมาเฝ้าตามประเพณี ทางกรุงศรีฯ พระนเรศวนอาสาสมเด็จพระราชบิดาไปแทนเพื่อฟังเหตุการณ์ ประเทศราชแสดงออกห่างอย่างกรุงศรีฯ และทรงคาดว่าจะมี่เรื่องทางหงสาวดี พอดีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังเป็นกบฏ พระเจ้านันทบุเรงให้ 1.พระมหาอุปราช 2.พระสักกะทัต (นัดจินหน่อง) เมืองตองอู และ 3.ทัพพระนเรศวรยกไปปราบเมืองคัง ทัพมหาอุปราชและเจ้าเมืองตองอูตีเมืองคังไม่ได้ ทัพกรุงศรีเข้าไปตีเมืองคังได้ เป็นเหตุให้อับอายและเกลียดชังพระนเรศวร แต่นั้นมาทั้งพระเจ้าหงสาวดีด้วย แต่ก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลตามพระราช พ.ศ.2126 ทางหงสาวดีมีเหตุการณ์พระเจ้านันทบุเรงเป็นอริกับพระเจ้าอังวะ (มังกยอชวา มหาอุปราช ซึ่งสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอังวะ ต่อมามหาอุปราชมีชายาใหม่ เกิดวิวาททุบตีพระธิดาถึงบาดเจ็บ ฟ้องไปอังวะว่าพระเจ้าหงสาวดีเข้ากับมหาอุปราช) ทางอังวะเกลี้ยกล่อมเจ้าฟ้าไทยใหญ่แข็งเมือง พระเจ้านันทบุเรงให้จัดทัพมี ทัพหงสาวดี ทัพเมืองตองอู ทัพเมืองเชียงใหม่ ทัพเมืองแปร ทัพเวียงจันทน์ ทัพกรุงศรีฯ ให้พระมหาอุปราชอยู่รักษาพระนครหงสาวดี กองทัพทั้ง 5 ขึ้นไปถึง ตีเมืองอังวะตามกำหนดนัด เว้นแต่ทัพพระนเรศวร พระเจ้านันทบุเรงเกิดระแวะว่าจะเป็นอุบาย จึงให้พระมหาอุปราชคิดกำจัดพระนเรศวรเสียเมื่อไปถึง พ.ศ.2126 พระนเรศวรออกจากกรุงศรีฯ พ.ศ.2127 ถึงเมืองแครงกินเวลาเดินทาง 2 เดือนเศษ พระมหาอุปราชวางอุบายกับมอญเมืองแครงกำจัดพระนเรศวร แต่งพระยาเมืองมอญมีพระยาเกียรติ พระยาราม เป็นข้าหลวงต้อนรับเสด็จ ได้ขยายความลับ มอญเมืองแครงที่เกลียดหงสาวดีรู้ข่าวไปเล่าให้พระมหาเถรคันฉ่อง พระนเรศวรไปเยี่ยมพระมหาเถรฯ ให้ระวังพระองค์เกลี้ยกล่อมพระยามอญเข้าสวามิภักดิ์ทูลความจริงให้ทรงทราบ พ.ศ.2127 ณ เมืองแครงพระนเรศวรประชุมและประกาศ "ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิเป็นมิตรกันดังแต่ก่อนสืบไป" หลั่งน้ำจากสุวรรณภิงคารลงเหนือแผ่นดิน เป็นสักขีพยาน พุ่งเข้าไปถึงชานเมืองหงสาวดี เข้าฤดูฝน จึงให้แยกไปรับพาครอบครัวไทยที่ถูกวาดไปเอากลับ ข้ามแม่น้ำสะโตง และมาตั้งมั่นอีกฝั่งหนึ่ง พอดีพระเจ้านันทบุเรงชนะเมืองอังวะยกพลกลับให้พระมหาอุปราชติดตามทัพกรุง ศรีฯ สุรกรรมมาเป็นทัพหน้า มาทันที่แม่น้ำสะโตงฝั่งตรงข้าม พระนเรศวรทรงพรแสงปืนยาวยิงถูกสุรกรรมมานิ่งอยู่กับคอช้าง ทัพหงสาวดีถอยกลับ ปรากฏนามต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับในพระแสงอัษฏาวุธ เป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับแผ่นดินสืบมา ไทยยกกลับทางเมืองมอญ เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์
        พ.ศ.2127 หัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยเมืองสวรรคโลก เมืองพิชัย คาดการณ์ว่าแพ้หงสาวดี ก็แข็งเมือง พระนเรศวรยกทัพไปปราบจับเจ้าเมืองทั้งสองได้ให้กำจัดเสีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น